ตะกร้าของฉัน

ยังไม่มีรายการสินค้าในตะกร้า

ราคาสินค้า

฿ 0
coolsim
coolsim
Podcast
Live Streaming
Content
Playlist
LIVE -
share
รู้สึกว่าตัวเองติดโทรศัพท์มือถือมากเลยค่ะ แบบนี้อันตรายมั้ยคะ

รู้สึกว่าตัวเองติดโทรศัพท์มือถือมากเลยค่ะ แบบนี้อันตรายมั้ยคะ

COOL Clinic

4 ม.ค. 256602 นาที 32 วินาที

รู้สึกว่าตัวเองติดโทรศัพท์มือถือมากเลยค่ะ แบบนี้อันตรายมั้ยคะ

-

ตั้งแต่ตื่นนอนมาใครที่รีบคว้าโทรศัพท์มือถือมาใช้งานทันที หรือนอนหลับไปทั้ง ๆ ที่โทรศัพท์ยังคาอยู่ในมือ และตลอดทั้งวันก็จดจ่ออยู่กับการรับส่งข้อความต่าง ๆ โดยเฉพาะใครที่ชอบแชะ แชร์ อัพ ในโซเชียล แน่นอนว่าถือเป็นอาการเสพติดสมาร์ทโฟนอย่างไม่ต้องเดาเลย 

ยิ่งหากวันไหนมีเหตุให้ต้องงดเล่นโทรศัพท์มือถือขึ้นมาแล้วมีอาการกังวลใจเกินกว่าเหตุ 

คงไม่ดีแน่ พฤติกรรมการติดมือถือแบบนี้ เรียกว่า “โนโมโฟเบีย” โรคกลัวการขาดมือถือ

ในนิยามทางการแพทย์นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นพฤติกรรมที่ต้องมี การพกโทรศัพท์มือถือ

ติดตัวตลอดเวลา ต้องคอยคลำกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้าง ๆ ตัวหรือไม่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้าย ๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ 

ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ 

ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็กข้อความก่อน เมื่อตื่นนอนรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กข้อความ 

หรือก่อนนอนเล่นโทรศัพท์จนกระทั่งหลับ ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ 

นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า อาการกังวลใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น

บางคนลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้านกลับรู้สึกเฉย ๆ 

เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ บางคนรู้สึกกังวลใจแค่ในชั่วโมงแรก 

แต่ช่วงหลังเมื่อหาวิธีสื่อสารด้วยทางอื่นได้ก็หมดกังวล 

แต่บางคนรู้สึกว่าอดทนได้น้อย รู้สึกกระวนกระวาย วุ่นวายใจ หรือเวลาไปอยู่ในที่อับสัญญาณ ไม่สามารถอัพโหลดภาพได้ บางคนรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด ฉุนเฉียว โวยวาย

สำหรับใครที่เช็กตัวเองแล้วพบว่าเข้าข่ายอาการโนโมโฟเบียคงไม่ดีแน่นะคะ

เพราะเสียทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสมอง

ชีวิตในแต่ละวันต้องมีช่วงเวลาที่ต้องปลอดมือถือพักสมองบ้าง เช่น จัดช่วงเวลาไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้แก่ เวลารับประทานอาหาร เวลาทำงาน ถ้าเราสามารถปรับตัวได้จะพบว่ามันไม่ได้ต้องใช้ตลอดเวลา อาจจะเริ่มจากกำหนดเวลา 30 นาที และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง จากนั้นเพิ่มเวลาไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในห้องนอนถ้ากำหนดเป็นเขตปลอดมือถือเลยได้ยิ่งดีดังนั้น อาการโนโมโฟเบียไม่ได้เป็นโรครุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา แค่ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของตัวเองหากิจกรรมอื่น ๆ 

เช่น ออกไปวิ่งออกกำลังกาย ชมสวน เล่นกับสัตว์เลี้ยง ไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ 

นั่งพูดคุยกับเพื่อนแบบเห็นหน้ากัน 

โลกนี้ยังมีอะไรที่สวยงามให้เราได้ชื่นชมอีกมากมายเลยค่ะ 

Next song | -
-
Next song | -