ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร well u Astaxanthin Plus DHA ดีเอชเอ จากน้ำมันปลา อาหารเสริมบำรุงดวงตา (ตรา เวล ยู) 4 กล่อง
-43% OFF
฿ 3,540
฿
1,990
2 กล่อง ฟรี 2 กล่อง
โปรโมชั่นวันที่ 1 ม.ค. 2566 - 31 ธ.ค. 2566 (หรือจนกว่าสินค้าจะหมด)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร well u Astaxanthin plus DHA ดีเอชเอ จากน้ำมันปลา (ตรา เวล ยู) อาหารเสริมบำรุงดวงตา สารสกัดจากธรรมชาติ อุดมไปด้วยสารสกัดและวิตามินที่มีส่วนช่วยบำรุงสายตา อาทิ
- ช่วยลดโอกาสการเกิดตาแห้ง จากการขาดความชุ่มชื้นในดวงตา
- ลดอาการตาล้า ที่เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
- เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดในดวงตา
- ลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงของโรค อาการเสื่อมของดวงตา และโอกาสการเกิดต้อ
สารสกัดสำคัญ
1. สารสกัดจากสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอส (เทียบเท่า แอสต้าแซนธิน 6 มิลลิกรัม)
แอสต้าแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มีส่วนช่วยป้องกันการทำลายเซลล์และลดการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายก่อนวัยอันควร และมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของอาการเสื่อมของดวงตาและการเกิดต้อ รวมถึงลดอาการเมื่อยล้า และปวดตาจากการใช้สายตาเป็นเวลานานอีกด้วย
2. ดีเอชเอ และ อีพีเอ จากน้ำมันปลาแซลมอน (DHA and EPA from Fish oil)
2.1 DHA (Docosahexaenoic Acid) หรือ ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ มีหน้าที่สำคัญในการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงดวงตา
ดีเอชเอ เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ในดวงตา ช่วยกระตุ้นการทางานของโปรตีนโรดอพซิน (Rhodopsin) ซึ่งเป็นเซลล์ในจอประสาทตาที่ทำหน้าที่รับแสง และลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากการขาด DHA อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาในการมองเห็นได้
2.2 EPA (Eicosapentaenoic Acid) หรือ อีพีเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย (มักจะพบได้ในสัตว์เท่านั้น) EPA มักจะถูกใช้เพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในทางการแพทย์ สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและเลือด
3. น้ำมันสาหร่าย (Algae oil) น้ำมันสาหร่าย จากสาหร่าย Microalgae เป็นอีกหนึ่งแหล่งสำคัญของ DHA และ EPA รวมถึงเป็นแหล่งของกรดไขมันที่สำคัญอื่นๆ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 9 กรดไขมันในน้ำมันสาหร่าย
- มีส่วนช่วยลดการระเหยของน้ำตาได้ รวมถึงช่วยลดอาการตาแห้งและอาการระคายเคืองตาได้ดี
4. ลูทีนและซีแซนทิน จากสกัดดอกดาวเรือง (เทียบเท่า ลูทีน 10 มิลลิกรัม ซีแซนทิน 2 มิลลิกรัม)
- ลูทีน (Lutein) มีส่วนช่วยป้องกันแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายกับดวงตา ช่วยป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
- ซีแซนทิน (Zeaxanthin) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยปกป้องสายตาจากแสงสีฟ้า (แสงจากจอคอมพิวเตอร์ , โทรศัพท์มือถือ) และแสงจากดวงอาทิตย์ รวมถึง ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุได้
นอกจากนี้ งานวิจัยพบว่า การใช้ ลูทีนและซีแซนทิน ร่วมกับ ดีเอชเอ ยังสามารช่วยปกป้องเซลล์รับแสง (Photoreceptors) จากกระบวนการตายของเซลล์ (Apoptosis) ได้อีกด้วย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการเสื่อมของดวงตาได้
5. สารสกัดบิลเบอร์รี (Bilberry Extract) อุดมไปด้วยพฤกษเคมีกลุ่ม แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีผลวิจัยทางคลินิค พบว่า
- สามารถช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำตาได้
- ช่วยลดอาการตาแห้งและอาการระคายเคืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สารสกัดมัลเบอร์รี (Mulberry Extract) อุดมไปด้วยสารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenol) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีรายงานจากการทดสอบในแบบจำลองความผิดปกติของระบบประสาท (in vivo models of neurodegenerative disorder) ว่าสารโพลิฟีนอลในสารสกัดมัลเบอร์รี่ มีส่วนช่วยป้องกันการเสื่อมของประสาทและสมอง
7. สารสกัดโกจิเบอร์รี (Goji Berry Extract) โกจิเบอร์รี หรือ รู้จักทั่วไปในชื่อ เก๋ากี้ เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันมาอย่างยาวนานไปตารับยาแผนโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบำรุงสายตา เพราะมีส่วนสำคัญในการช่วยผลิตน้ำตา ซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย และบรรเทาอาการตาแห้งได้ดี
ส่วนประกอบสำคัญ
- EPA และ DHA16% จากน้ำมันปลาแซลมอนเพาะเลี้ยง(วงศ์ SALMONIDAE) 237.13มก.
- สารสกัดจากสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส(เทียบเท่า แอสต้าแซนธิน6มก.) 120.00มก.
- ลูทีน 20% (เทียบเท่า ลูทีน 10 มก.) 50.00 มก.
- สารสกัดจากบิลเบอร์รี 20.00 มก.
- DHA 40% จากน้ำมันสาหร่าย (SCHIZOCHYTRIUM SP.) 20.00 มก.
- สารสกัดจากโกจิเบอร์รี 20.00 มก.
- สารสกัดจากมัลเบอร์รี 20.00 มก.
- ซีแซนทิน 20% (เทียบเท่า ซีแซนทิน 2 มก.) 10.00 มก.
วิตามินเอ แอซิเตท 2.87 มก.
คุณสมบัติสารสกัด
1. สารสกัดจากสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส (เทียบเท่า แอสต้าแซนธิน 6 มิลลิกรัม)
Haematococcus pluvialis extract (Equivalent to Astaxanthin 6 mg)
“แอสต้าแซนธิน” เป็นหนึ่งในสารประเภทแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูในพืชหรือสัตว์ รวมถึงในสาหร่ายบางชนิดอย่างสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส ซึ่ง“แอสต้าแซนธิน” มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์และลดการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายก่อนวัยอันควร จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า อาสาสมัครที่รับประทาน สารแอสต้าแซนธิน 6 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีการเพิ่มขึ้นของการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดฝอยในดวงตาที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของอาการเสื่อมของดวงตาและการเกิดต้อ เพราะว่าในผู้ป่วยที่เป็นต้อมักจะพบการไหลเวียนของเลือดของเส้นเลือดฝอยในดวงตาลดลง และผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเสื่อมของดวงตาร่วมด้วย และในงานวิจัยทางคลินิกพบว่า อาสาสมัครที่ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานในแต่วัน เมื่อรับประทาน แอสต้าแซนธิน 6 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีอาการเมื่อยล้าของดวงตาลดลง ร่วมไปถึงอาการปวดตาก็ลดลงด้วย
2. ดีเอชเอ และ อีพีเอ จากน้ำมันปลาแซลมอน (DHA and EPA from Fish oil)
DHA (Docosahexaenoic Acid) หรือ ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ มีหน้าที่สำคัญในการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงดวงตาด้วย ดีเอชเอ เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ในดวงตา ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในจอประสาทตาที่ทำหน้าที่รับแสง และลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เนื่องจากการขาด DHA อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาในการมองเห็นได้
EPA (Eicosapentaenoic Acid) หรือ อีพีเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งส่วนมากมักจะพบได้ในสัตว์เท่านั้น EPA มักจะถูกใช้เพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในทางการแพทย์ สาเหตุ สำคัญของโรคหัวใจและเลือด
3. น้ำมันสาหร่าย (Algae oil)
น้ำมันสาหร่าย จากสาหร่าย Microalgae เป็นอีกหนึ่งแหล่งสำคัญของ DHA และ EPA อีกทั้งยังเป็นแหล่งของกรดไขมันที่สำคัญตัวอื่นๆ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 9 กรดไขมันในน้ำมันสาหร่ายมีส่วนช่วยลดการระเหยของน้ำตาได้ ทาให้ลดอาการตาแห้งและอาการระคายได้ดี
4. ลูทีนและซีแซนทิน จากสกัดดอกดาวเรือง (เทียบเท่า ลูทีน 10 มิลลิกรัม ซีแซนทิน 2 มิลลิกรัม) Lutein and Zeaxanthin from Marigold extract (Equivalent to Lutein 10 mg and Zeaxanthin 2 mg)
ลูทีนและซีแซนทิน คือ พฤกษเคมีกลุ่มแคโรตินอยด์ ซึ่งมีเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในจอประสาทตา ซึ่งการขาดหรือได้รับ ลูทีนหรือซีแซนทิน ไม่เพียงพออาจเป็นสาเหตุของการจอประสาทตาเสื่อมได้ โดยมีงานวิจัยจากคลินิกสนับสนุนว่า การได้รับ ลูทีน 10 มก. และ ซีแซนทิน 2 มก. ต่อวัน ในอาสาสมัครอายุ 50-85 ปี ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด “โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ” (Age related Macular degeneration) ได้
มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยพบว่า การใช้ ลูทีนและซีแซนทิน ร่วมกับ ดีเอชเอ ยังสามารช่วยปกป้องเซลล์รับแสง (Photoreceptors) จากกระบวนการตายของเซลล์ (Apoptosis) ได้อีกด้วย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธภาพในการป้องกันการเสื่อมของดวงตาได้
5. สารสกัดบิลเบอร์รี (Bilberry extract)
สารสกัดจากบิลเบอร์รี ที่อุดมไปด้วยพฤกษเคมีกลุ่ม แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีผลวิจัยทางคลินิค พบว่าสามารถช่วยเพิ่มการหลังของน้ำตาได้ ช่วยลดอาการตาแห้งและอาการระคายเคืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สารสกัดมัลเบอร์รี (Mulberry extract)
สารสกัดมัลเบอร์ อีกหนึ่งแหล่งสำคัญของสารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenol) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีรายงานจากการทดสอบในแบบจำลองความผิดปกติของระบบประสาท (in vivo models of neurodegenerative disorder) ว่าสารโพลิฟีนอลในสารสกัดมัลเบอร์รี มีส่วนช่วยป้องกันการเสื่อมของประสาทและสมอง
7. สารสกัดโกจิเบอร์รี (Goji berry extract)
โกจิเบอร์รี หรือ รู้จักทั่วไปในชื่อ เก๋ากี้ เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันมาอย่างยาวนานไปตารับยาแผนโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบำรุงสายตา มีงานวิจัยในหนูทดลองว่าช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ โดยช่วยเพิ่มการผลิตน้ำตาและซ่อมแชมเซลล์ที่ถูกทำลายได้
8. วิตามินเอ มีบทบาทสำคัญในการมองเห็น โดยเป็นองค์ประกอบสำคัญของจุดรับแสง เรตินาในดวงตา โดยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุตาและกระจกตา ช่วยในการมองเห็นในที่มืด การขาดวิตามินเอ อาจเกิดอาการที่รุนแรงได้เรียกว่า อาการตาบอดกลางคืน จึงควรได้รับวิตามินเอในการช่วยปกป้องเรตินาจากการทำร้ายของแสงยูวีและเพื่อการบำรุงสายตา
ขนาดรับประทาน
วันละ 1 แคปซูล (หลังอาหารมื้อใดก็ได้)
คำแนะนำเพิ่มเติม
1. เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน
2. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ปลาทะเลหรือน้ำมันปลา
3. ควรระวังในผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือแอสไพริน
4. หากมีโรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน